“เป็นแหลมเล็กๆ มีชายหาดแคบๆ คลื่นลมไ่แรง เล่นน้ำได้ทั้งปี มีร่มไม้ให้ปิคนิคริมหาด ” แหลมกาน้อย มีขนาดเล็ก ไม่สวยมากนัก แต่มีบรรยากาศแบบไทยๆ และร้านอาหารให้สั่งอาหารมากิน พร้อมนั่งชมวิว เป็นแหลมเล็กๆมีหาดทรายแคบๆ และโขดหินน้อยใหญ่เรียงรายตลอดแนวชายหาด จึงไม่มีพื้นที่ให้ตั้งร่มหรือเก้าอี้ผ้าใบ แต่มีร่มไม้ให้ปูเสื้อนั่งกันได้ ผู้ที่มาเที่ยวมักเป็นคนไทยที่มากันเป็นครอบครัว แม้พื้นที่คับแคบ เม็ดทรายมีสีออกเหลืองนวล คลื่นลมค่อนข้างสงบ สามารถลงเล่นน้ำได้เกือบทั้งปี
Category: อำเภอเมืองภูเก็ต
พิพิธภัณฑ์ภูเก็ตไทยหัว
“ เป็นอาคารเก่าหน้าจั่วปูนปั้นแบบ ชิโน-โปรตุกิส ในย่านเมืองเก่า อ.เมือง จ.ภูเก็ต มีห้องโถงแสดง ภาพถ่ายเก่าๆ เรื่องราวต่างๆ ของภูเก็ต สมัยคนจีนย้ายถิ่นฐาน การทำสวนยาง การขุดเหมืองแร่ ” พิพิธภัณฑ์ภูเก็ตไทยหัว เดิมทีที่นี่เป็นโรงเรียนสอนภาษาจีนแห่งแรกในจังหวัดภูเก็ต มีชาวจีนฮกเกี้ยนบรรพบุรุษชาวจีนรุ่นแรก ที่อพยพมาอยู่ที่ภูเก็ตร่วมกันตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2477 โดยตัวอาคารถูกออกแบบเป็นสถาปัตยกรรมแบบชิโนโปตุกีส เป็นอาคาร 2 ชั้น บนหน้าจั่วของอาคารมีรูปปูนปั้นเป็นรูปค้างคาวแดง ซึ่งสื่อความหมายถึง การรู้หนังสือคือโชคอันยิ่งใหญ่ เป็นการแสดงให้เห็นถึงการตระหนักถึงการให้การศึกษา แก่ลูกหลานชาวภูเก็ต ไม่เฉพาะการเล่าเรียน เพื่อให้อ่านออกเขียนได้เท่านั้น แต่หัวใจสำคัญของการศึกษาอยู่ที่การปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม และปรัชญาในการดำเนินชีวิต ลักษณะของอาคารหลังนี้ เป็นอาคาร 2ชั้น ด้านในเป็นห้องโถงกว้างใหญ่ มีห้องทั้งปีกซ้ายและขวา มีบันไดเดินขึ้นชั้นบน ซึ่งมีระเบียงล้อมรอบพื้นที่ว่างที่สามารถมองลงมาชั้นล่าง ด้านบนยังใช้เป็นห้องเรียนภาษาจีน ส่วนด้านล่างมักใช้จัดนิทรรศการต่าง ๆ อยู่เสมอ โดยเฉพาะด้านศิลปะและวัฒนธรรม ลานกว้างด้านหน้าอาคารจัดแสดงภาพถ่ายเก่า ๆ ของโรงเรียน ส่วนภายในอาคารจัดแสดงสิ่งของ หนังสือ ภาพถ่ายและเรื่องราวต่าง ๆ ของโรงเรียนภูเก็ตไทยหัวแล้ว ก็ยังจัดเป็นห้องนิทรรศการภาพแสดงความเป็นมาของชาวจีนที่ย้ายถิ่นฐานมาอยู่ที่ภูเก็ต บุคคลสำคัญของภูเก็ต … Continue reading พิพิธภัณฑ์ภูเก็ตไทยหัว
บ้านตีลังกา
“บ้านตีลังกา เป็นบ้านกลับหัวที่เดียวในประเทศไทย” บ้านตีลังกา เป็นบ้านกลับหัวที่เดียวในประเทศไทย มีเฟอร์นิเจอร์บนฝ้าเพดาน นำความแปลกใหม่และความสามารถของสถาปนิกและวิศกรก่อสร้างมานำเสนอ เปิดทุกวัน เวลา 10:00 – 18:30 น.
พิพิธภัณฑ์เปลือกหอย
“เป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีชื่อเสียงระดับโลก แสดงเปลือกหอย จุดเด่นอยู่ที่ ไข่มุกสีทอง ฟอสซิลหอยกาบสองฝาอายุร้อยล้านปี” พิพิธภัณฑ์เปลือกหอย ภูเก็ต เป็นสถานที่เก็บสะสมแสดงเปลือกหอยในท้องทะเลอันดามันและทะเลทั่วโลก เช่น อ่าวเม็กซิโก แอฟริการใต้ เป็นต้น นำมาจัดแสดงอย่างเป็นระบบพร้อมข้อมูลที่น่าสนใจ นิทรรศการทั้งหมดในพิพิธภัณฑ์จัดแสดงในห้องใหญ่ห้องเดียวในชั้นใต้ดิน จำแนกเป็นประเภท ได้แก่ หอยเบี้ย เป็นหอยที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เปลือกโค้งมน ผิวเปลือกเป็นมันวาวคล้ายกระเบื้องเคลือบ หอยเต้าปูน เป็นหอยมีพิษ เปลือกเป็นทรงกรวย มีขนาด สีสันและลวดลาย หอยสังข์หนาม หรือหอยหน้ายักษ์ เป็นหอยทะเลกลุ่มใหญ่ที่สุดเป็น หอยฝาเดียว มีหนาขั้นเป็นแนวรอบตัว หอยสังข์จุกพราหม์ อาศัยอยู่ตามพื้นทรายปนเลนนอกแนวชายฝั่ง พบในไทย เพียงสองชนิด เปิด 08.00-17.30 น. ค่าเข้าชม คนไทย 100 บาท ชาวต่างชาติ 200 บาท
เกาะเฮ
“เป็นเกาะที่ใช้เวลาเดินทางไม่นาน มีหาดทรายสวยงาม และมีปะการังน้ำตื้นสมบูรณ์ เที่ยวแบบเช้าไปเย็นกลับได้” เกาะเฮ เป็นเกาะที่มีหาดทรายสวยงาม และมีปะการังน้ำตื้นสมบูรณ์ อีกทั้งยังใช้เวลาเดินทางไม่นาน สามารถเที่ยวแบบเช้าไปเย็นกลับได้ นั่งเรือจากหาดราไว เป็นระยะทาง 5 กม. การเดินทางและที่พัก ติดต่อสำนักงานคอรัลไอส์แลนด์รีสอร์ท โทร. (076) 281060 2 ที่รีสอร์ท โทร. (076) 214779, 224793, 225794 นักท่องเที่ยวสามารถเที่ยวได้ตลอดทั้งปี
พระพุทธมิ่งมงคลเอกนาคคีรี
“เป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่ ตั้งอยู่บนยอดเขานาคเกิด” พระพุทธมิ่งมงคลเอกนาคคีรี เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปแบบร่วมสมัย ขนาดหน้าตักกว้าง ๒๕.๔๕ เมตร ความสูง ๔๕ เมตร โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก ประดับผิวด้วยหินอ่อนหยกขาว “สุริยกันต”(สุริยกันตะ) จากพม่า น้ำหนักเฉพาะหินอ่อน หยกขาวประมาณ ๑๓๕ ตัน หรือประมาณ ๒,๕๐๐ ตารางเมตร ประดิษฐาน ณ บนยอดเขานาคเกิด ตำบลกะรน อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ซึ่งต่อมาก็ได้รับการถวายพระนามจากสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ว่า “พระพุทธมิ่งมงคลเอกนาคคีรี” พร้อมตราตั้งให้เป็นพระพุทธรูปประจำเมืองภูเก็ต เมื่อวันที่ ๑๙ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๑ โดยนายสุพร วนิชกุล ประธานดำเนินการจัดสร้างเป็นผู้รับนมัสการสนองพระเดชพระคุณ…. บริเวณอุทยานฯมีจุดชมวิว 360 องศา ที่สามารถมองเห็นตัวเมืองภูเก็ตและทะเลได้ และยังสามารถมองเห็นแหลมพรหมเทพได้ด้วย Tel: 081-891-3827, 076-239190Fax: 076-238470
สวนพิศวง
“สวนพิศวง เป็นเขาวงกตเล็กๆ เหมาะกับเกมส์ท้าทายเพื่อหาทางออกจากสวน ซึ่งประตูทางออก จะเปลี่ยนเสมอๆ ท้าทายความสามารถในการหาทางออกได้บ่อยครั้งในสัปดาห์” สวนพิศวง หรือเขาวงกต ไม่ต้องกลัวหลงทาง เราให้เวลาคุณทั้งวัน เนื้อที่กว่า 950 ตารางเมตร ได้รับการออกแบบโดยผู้ที่ได้รับรางวัล เอเดรีย ฟิชเชอร์ ซึ่งเป็นนักออกแบบชาวอังกฤษ ที่มีชื่อเสียงด้านการออกแบบเขาวงกต เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 10:00 – 18:30 น.
หาดกะตะ
“มีหาดทรายและชายหาดที่สวยงามเหมาะแก่การเล่นน้ำ และใช้เป็นที่ฝึกดำน้ำ สิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน” หาดกะตะ อยู่ห่างจากตัวเมืองภูเก็ต 17 กม. จากตัวเมืองภูเก็ตเมื่อถึงห้าแยกฉลองเลี้ยวขวาไปตามทางตามถนนหมายเลข 4028 อ่าวกะตะแบ่งออกเป็น 2 อ่าวคือ อ่าวกะตะใหญ่ กับอ่าวกะตะน้อย ทั้งสองอ่าวมีหาดทรายและชายหาดที่สวยงามเหมาะแก่การเล่นน้ำ และใช้เป็นที่ฝึกดำน้ำ เนื่องจากมีแนวปะการังติดต่อกันไปจนถึงเกาะปูซึ่งอยู่ด้านหน้าหาดกะตะ ปัจจุบันหาดกะตะ เป็นหาดหนึ่งที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน อาทิ สถานที่พัก บริษัทนำเที่ยว ร้านค้า แหล่งบันเทิงต่างๆ ไว้สำหรับบริการนักท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวสามารถเที่ยวได้ตลอดทั้งปี
เขารัง
“จุดชมวิวเมืองภุเก็ต สวยงามมากในยามเย็นพลบค่ำ เป็นที่ออกกำลังกายของชาวเมืองภูเก็ต” เขารัง เป็นเนินเขาอยู่ในตัวเมืองภูเก็ตทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ เป็นจุดชมวิวเมืองภูเก็ตได้อย่างชัดเจน อีกทั้งยังเป็นสวนสาธารณะ ชาวเมืองภุเก็ตนิยมมาวิ่งออกกำลังกายทุกวัน ยิ่งเป็นช่วงเวลากลางคืนจะเห็นแสงไฟจากตามบ้านเรือนงามระยิบระยับจึงเป็นจุดชมทิวทัศที่ได้รับความนิยมมาก รถยนต์และยานพาหนะอื่นๆสามารถขึ้นไปถึงยอดเขาตามถนน “คอซิมบี้” ใช้เวลาไม่นาน มีร้านอาหาร ร้านเครื่องดื่มอยู่บนเขารัง เขารังเป็นที่ตั้งของอนุสาวรีย์พระยารัษฎานุประดิษฐมหิศรภักดี คอซิมบี้ ณ ระนอง เกิดเมื่อวันพุธ เดือน ๘ ปีมะเส็ง พ.ศ.๒๔๐๐ อนิจกรรม เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๐ เมษายน พ.ศ.๒๔๕๖ พ.ศ.๒๔๓๓ ดำรงตำแหน่งสมุหเทศาภิบาล ผู้สำเร็จราชการกรมมณฑลภูเก็ต ปกครองหัวเมืองปักษ์ใต้ ๗ เมือง ได้แก่ ภูเก็ต ตรัง พังงา กระบี่ ตะกั่วป่า ระนอง สตูล ได้ประกอบคุณประโยชน์แก่ราชการ เป็นมรรคผลดีเลิศ ทำนุบำรุงความเจริญนานัปการ เป็นรากฐานความก้าวหน้าสืบมาถึงปัจจุบัน นักท่องเที่ยวสามารถเข้าชมได้ทุกวัน
ท่าเทียบเรือหาดราไวย์
“ท่าเรือไป เกาะเอ เกาะบอน เกาะราชา” ท่าเทียบเรือหาดราไวย์ ปลายสุดของหาดราไวย์ก่อนจะเข้าตำบลฉลอง สุดด้านซ้ายของหาดจะมองเห็นสะพานเทียบเรือหาดราไวย์ยื่นยาวออกไปในทะเล เป็นท่าเรือเพื่อไปเกาะเอ เกาะบอน เกาะราชา การเดินทาง หันหน้าเข้าเมืองภูเก็ตจะมีทางแยกซ้ายมือ หากมาจากตัวเมืองภูเก็ตถึงแยกหาดราไวย์ให้ตรงไป สะพานท่าเทียบเรือสำหรับเรือขนาดใหญ่